CSR: 7 Core Subjects
ที่มา | หลักการ | หัวข้อหลัก | แนวปฏิบัติ |
ในการกำหนดขอบข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ และการระบุประเด็นต่างๆ (Issues) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญในประเด็นที่องค์กรดำเนินการ กิจการควรนำ 7 หัวข้อหลัก (Core subjects) ต่อไปนี้ มาพิจารณา
หัวข้อหลัก 1 ธรรมาภิบาล (Organizational governance) เป็นระบบที่องค์กรใช้วินิจฉัยและดำเนินการตามข้อวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยกลไกการกำกับดูแลทั้งที่เป็นทางการ (มีการกำหนดโครงสร้างและกระบวนการชัดเจน) และไม่เป็นทางการ (เกิดขึ้นโดยเกี่ยวโยงกับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากผู้นำองค์กร) ทั้งนี้ การกำกับดูแลองค์กรในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคม มีลักษณะพิเศษที่เป็นทั้งหัวข้อหลัก (Core subject) ซึ่งองค์กรควรดำเนินการ และเป็นวิธีที่ใช้เพิ่มขีดความสามารถองค์กรในการดำรงพฤติกรรมอย่างรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อหัวข้อหลักด้านอื่นๆ เนื่องจากการมุ่งเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม กิจการควรมีระบบที่เปิดทางให้องค์กรสามารถใช้ควบคุมดูแลและนำหลักการ (Principles) ความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติได้จริง
หัวข้อหลัก 2 สิทธิมนุษยชน (Human rights) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถจำแนกเป็นสองหมวดใหญ่ คือ หมวดสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งหมายรวมถึง สิทธิในชีวิตและเสรีภาพ ความเสมอภาคในกฏหมาย เสรีภาพในการแสดงออก และหมวดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งหมายรวมถึง สิทธิในการทำงาน สิทธิที่พึงได้รับอาหาร สิทธิในสุขภาพตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ สิทธิในการศึกษา และสิทธิด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งสิทธิมนุษยชนทั้งสองหมวดนี้ กิจการพึงให้การเคารพภายใต้เขตอิทธิพล (Sphere of Influence) ขององค์กร
หัวข้อหลัก 3 การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices) เป็นเรื่องของนโยบายและการดำเนินงานทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานทั้งภายในองค์กร โดยองค์กร หรือในนามขององค์กร ซึ่งรวมถึงงานรับเหมาช่วง โดยส่วนสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคมของกิจการ ก็คือ การสร้างงาน การจ่ายค่าจ้าง และการให้ผลตอบแทนอื่นๆ จากการทำงาน ทั้งนี้ การสร้างงานที่มีคุณค่าและได้มูลค่า ถือเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการพัฒนามนุษย์ ขณะที่มาตรฐานการครองชีพจะถูกยกระดับได้ด้วยการจ้างงานแบบเต็มเวลาและมีหลักประกัน
หัวข้อหลัก 4 สิ่งแวดล้อม (The environment) เป็นการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจและการดำเนินงานขององค์กรทั้งในแง่ของการใช้ทรัพยากร ถิ่นที่ตั้งของสถานประกอบการ มลภาวะและของเสีย รวมถึงผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร ต่อแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชและสิ่งมีชีวิตต่างๆ
หัวข้อหลัก 5 การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating practices) เป็นการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมขององค์กรที่มีต่อองค์กรอื่น ทั้งหน่วยงานภาครัฐ หุ้นส่วนทางธุรกิจ คู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้รับเหมา ลูกค้า คู่แข่งขัน และบรรดาสมาคมที่ตนสังกัดอยู่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลในทางที่ดีหรือในทางบวก โดยใช้ภาวะผู้นำผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมให้แผ่กว้างไปทั่วทั้งเขตอิทธิพลขององค์กร
หัวข้อหลัก 6 ประเด็นด้านผู้บริโภค (Consumer issues) เป็นความรับผิดชอบในตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่มีต่อผู้บริโภค (Consumers) รวมทั้งลูกค้า (Customers) ที่องค์กรผลิตจำหน่ายและให้บริการ สำหรับการปฏิบัติต่อลูกค้าที่ซื้อเพื่อการพาณิชย์จะใช้แนวปฏิบัติในหัวข้อ 5 เป็นหลัก ส่วนการปฏิบัติต่อผู้บริโภคที่ซื้อเพื่อการบริโภคจะใช้แนวปฏิบัติในหัวข้อนี้เป็นหลัก อย่างไรก็ดี แนวปฏิบัติบางส่วนในทั้งสองหัวข้อนี้ สามารถใช้ได้กับทั้งผู้บริโภคหรือลูกค้าด้วย
หัวข้อหลัก 7 การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน (Community involvement and development) เป็นเรื่องที่ถูกผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน และอยู่นอกเหนือการระบุและสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร แต่การมีส่วนร่วมกับชุมชนในที่นี้ เนื่องเพราะองค์กรถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในชุมชน และมีผลประโยชน์ร่วมกับชุมชน ทั้งนี้ การพัฒนาชุมชนในหัวข้อนี้ มิได้จำกัดในแง่ของการบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) เท่านั้น เพราะลำพังกิจกรรมการบริจาคมิได้นำไปสู่จุดหมายแห่งการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กร
หัวข้อหลัก 1 ธรรมาภิบาล (Organizational governance) เป็นระบบที่องค์กรใช้วินิจฉัยและดำเนินการตามข้อวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยกลไกการกำกับดูแลทั้งที่เป็นทางการ (มีการกำหนดโครงสร้างและกระบวนการชัดเจน) และไม่เป็นทางการ (เกิดขึ้นโดยเกี่ยวโยงกับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากผู้นำองค์กร) ทั้งนี้ การกำกับดูแลองค์กรในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคม มีลักษณะพิเศษที่เป็นทั้งหัวข้อหลัก (Core subject) ซึ่งองค์กรควรดำเนินการ และเป็นวิธีที่ใช้เพิ่มขีดความสามารถองค์กรในการดำรงพฤติกรรมอย่างรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อหัวข้อหลักด้านอื่นๆ เนื่องจากการมุ่งเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม กิจการควรมีระบบที่เปิดทางให้องค์กรสามารถใช้ควบคุมดูแลและนำหลักการ (Principles) ความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติได้จริง
หัวข้อหลัก 2 สิทธิมนุษยชน (Human rights) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถจำแนกเป็นสองหมวดใหญ่ คือ หมวดสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งหมายรวมถึง สิทธิในชีวิตและเสรีภาพ ความเสมอภาคในกฏหมาย เสรีภาพในการแสดงออก และหมวดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งหมายรวมถึง สิทธิในการทำงาน สิทธิที่พึงได้รับอาหาร สิทธิในสุขภาพตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ สิทธิในการศึกษา และสิทธิด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งสิทธิมนุษยชนทั้งสองหมวดนี้ กิจการพึงให้การเคารพภายใต้เขตอิทธิพล (Sphere of Influence) ขององค์กร
หัวข้อหลัก 3 การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices) เป็นเรื่องของนโยบายและการดำเนินงานทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานทั้งภายในองค์กร โดยองค์กร หรือในนามขององค์กร ซึ่งรวมถึงงานรับเหมาช่วง โดยส่วนสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคมของกิจการ ก็คือ การสร้างงาน การจ่ายค่าจ้าง และการให้ผลตอบแทนอื่นๆ จากการทำงาน ทั้งนี้ การสร้างงานที่มีคุณค่าและได้มูลค่า ถือเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการพัฒนามนุษย์ ขณะที่มาตรฐานการครองชีพจะถูกยกระดับได้ด้วยการจ้างงานแบบเต็มเวลาและมีหลักประกัน
หัวข้อหลัก 4 สิ่งแวดล้อม (The environment) เป็นการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจและการดำเนินงานขององค์กรทั้งในแง่ของการใช้ทรัพยากร ถิ่นที่ตั้งของสถานประกอบการ มลภาวะและของเสีย รวมถึงผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร ต่อแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชและสิ่งมีชีวิตต่างๆ
หัวข้อหลัก 5 การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating practices) เป็นการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมขององค์กรที่มีต่อองค์กรอื่น ทั้งหน่วยงานภาครัฐ หุ้นส่วนทางธุรกิจ คู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้รับเหมา ลูกค้า คู่แข่งขัน และบรรดาสมาคมที่ตนสังกัดอยู่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลในทางที่ดีหรือในทางบวก โดยใช้ภาวะผู้นำผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมให้แผ่กว้างไปทั่วทั้งเขตอิทธิพลขององค์กร
หัวข้อหลัก 6 ประเด็นด้านผู้บริโภค (Consumer issues) เป็นความรับผิดชอบในตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่มีต่อผู้บริโภค (Consumers) รวมทั้งลูกค้า (Customers) ที่องค์กรผลิตจำหน่ายและให้บริการ สำหรับการปฏิบัติต่อลูกค้าที่ซื้อเพื่อการพาณิชย์จะใช้แนวปฏิบัติในหัวข้อ 5 เป็นหลัก ส่วนการปฏิบัติต่อผู้บริโภคที่ซื้อเพื่อการบริโภคจะใช้แนวปฏิบัติในหัวข้อนี้เป็นหลัก อย่างไรก็ดี แนวปฏิบัติบางส่วนในทั้งสองหัวข้อนี้ สามารถใช้ได้กับทั้งผู้บริโภคหรือลูกค้าด้วย
หัวข้อหลัก 7 การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน (Community involvement and development) เป็นเรื่องที่ถูกผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน และอยู่นอกเหนือการระบุและสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร แต่การมีส่วนร่วมกับชุมชนในที่นี้ เนื่องเพราะองค์กรถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในชุมชน และมีผลประโยชน์ร่วมกับชุมชน ทั้งนี้ การพัฒนาชุมชนในหัวข้อนี้ มิได้จำกัดในแง่ของการบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) เท่านั้น เพราะลำพังกิจกรรมการบริจาคมิได้นำไปสู่จุดหมายแห่งการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กร