Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

CSR-in-process Assessment

การประเมินกระบวนงาน

Rational    Assessment    Implementation    Accreditation

สิ่งที่ควรดำเนินการ (What to do) ขององค์กรในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ในบริบทของ CSR-in-process คือ เรื่องที่องค์กรมีการตัดสินใจและดำเนินงานที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ทำให้องค์กรต้องมีการระบุและสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยเปิดทางให้องค์กรได้มาซึ่งแนวทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่ตอบสนองต่อความคาดหวังหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น (หรือที่จะเกิดขึ้น หากมิได้ดำเนินการ) โดยเฉพาะประเด็น CSR ที่ควรดำเนินการในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ การบูรณาการ และการสื่อสาร ให้เกิดเป็นผลลัพธ์ตามประเด็นที่เลือกมาดำเนินการ

โดยในมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมใน 7 หัวข้อหลัก ที่องค์กรควรเลือกมาดำเนินการมีทั้งหมด 37 ประเด็น (ไม่ใช่ทุกประเด็นที่ต้องดำเนินการ) ด้วยการพิจารณาความเกี่ยวเนื่อง (Relevance) ความมีนัยสำคัญ (Significance) และลำดับความสำคัญ (Priorities) สำหรับการระบุประเด็นที่องค์กรควรดำเนินการในแต่ละหัวข้อหลัก สถาบันไทยพัฒน์ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินสมรรถภาพ CSR ในกระบวนการ (CSR-in-process Capability Assessment) สำหรับการจัดทำมาตรการ (Measures) และเป้าหมาย (Targets) ภายใต้หัวข้อหลักในมาตรฐาน ISO 26000 ตามกระบวนงานหลักขององค์กร (Core Business Process) ซึ่งกำหนดเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ F (Fully achieved) ระดับ L (Largely achieved) ระดับ P (Partially achieved) และระดับ N (Not achieved)


CSR-in-process Capability Assessment

ผลการเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมายและการดำเนินงานในปัจจุบัน จะทำให้องค์กรสามารถระบุสิ่งที่ควรดำเนินการ (Gap) ตามสายงานที่รับผิดชอบในแต่ละกระบวนงานหลักอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับสามารถนำสิ่งที่ควรดำเนินการดังกล่าว มาเป็นข้อพิจารณาต่อการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in-process) ตามมาตรฐาน ISO 26000 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ