Framework: แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจ
ในหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Core Business Enablers) ของรัฐวิสาหกิจ ตามระบบประเมินผลใหม่ (SE-AM) ฉบับปรับปรุง ปี 2567 กำหนดให้มีการจัดทำนโยบายและแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐวิสาหกิจเพื่อกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจที่ชัดเจนและเป็นระบบ รวมทั้งการค้นหาและระบุปัจจัยความยั่งยืนเพื่อใช้เป็นปัจจัยนำเข้า (input) สาหรับการจัดทำ/ทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนประจำปี ตลอดจนการกำหนดโครงสร้างผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
การจัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาความยั่งยืน (Framework) เป็นการศึกษาและทบทวนข้อมูลสถานภาพด้านความยั่งยืนในปัจจุบันของกิจการ เพื่อค้นหาประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร แนวการบริหารจัดการ และตัวบ่งชี้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สำคัญ สำหรับใช้ขับเคลื่อนองค์กรให้เข้าสู่วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน และใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์องค์กรภายใต้บริบทความยั่งยืน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องใน 3 ขั้นตอน ได้แก่
รัฐวิสาหกิจที่สนใจบริการให้คำปรึกษาจัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการพัฒนาความยั่งยืน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ อีเมล info@thaipat.org
การจัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาความยั่งยืน (Framework) เป็นการศึกษาและทบทวนข้อมูลสถานภาพด้านความยั่งยืนในปัจจุบันของกิจการ เพื่อค้นหาประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร แนวการบริหารจัดการ และตัวบ่งชี้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สำคัญ สำหรับใช้ขับเคลื่อนองค์กรให้เข้าสู่วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน และใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์องค์กรภายใต้บริบทความยั่งยืน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องใน 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. | การระบุประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวเนื่อง (Identification) ซึ่งส่งผลกระทบที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อการตัดสินใจและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย |
2. | การจัดลำดับความสำคัญของรายการประเด็นความยั่งยืน (Prioritization) โดยคำนึงถึงบริบททางธุรกิจ ทรัพยากรที่องค์กรสามารถนำมาใช้ และความพร้อมขององค์กร |
3. | การตรวจสอบความครบถ้วนของประเด็นความยั่งยืนที่องค์กรคัดเลือกเพื่อดำเนินการ (Validation) เพื่อให้แน่ใจว่า ประเด็นที่ถูกคัดเลือกมาจากขั้นตอนการจัดลำดับความสำคัญก่อนหน้า ได้รับการพิจารณาอย่างครอบคลุม ไม่ตกหล่นหรือเกินเลย ด้วยปัจจัย เงื่อนไข และข้อจำกัดต่างๆ อย่างรอบด้าน |
รัฐวิสาหกิจที่สนใจบริการให้คำปรึกษาจัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการพัฒนาความยั่งยืน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ อีเมล info@thaipat.org