กระแสเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) ที่แต่เดิม ถูกขับเคลื่อนอยู่ภายในแวดวงตลาดทุน โดยเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสถาบันใช้ผลักดันให้บริษัทที่ตนเข้าไปลงทุนมีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ได้ถูกหยิบมาใช้อย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นคำสามัญที่นำมาใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง นอกเหนือจากที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มผู้ลงทุนแรกเริ่ม
แม้แต่ในแวดวงการตลาดที่ ESG ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร จนในปัจจุบัน ถูกตีความว่า ส่วนใหญ่เป็นการฟอกเขียว (Green Washing) เป็นผลให้หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ต้องออกนิยามศัพท์ (Terminology) และการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) ที่เกี่ยวกับเรื่อง ESG เพื่อป้องกันการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทำให้การฟอกเขียวเกิดได้ยากขึ้น
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย จากผลสำรวจสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ของบริษัทจดทะเบียน 805 แห่ง กองทุนและองค์กรอื่น ๆ อีก 99 ราย รวมทั้งสิ้น 904 ราย ในปี 2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์ พบว่า มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.46 คะแนน (จากกิจการที่สำรวจ 854 ราย ในปี 65) และ 2.2 คะแนน (จากกิจการที่สำรวจ 826 ราย ในปี 64) ตามลำดับ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจที่มีการรายงานข้อมูลอย่างโปร่งใส และสามารถเปิดเผยได้ตามมาตรฐานสากล จะได้รับการยอมรับทั้งจากหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรผู้ประเมินทั้งในระดับประเทศและในต่างประเทศ ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและเครดิตจากการดำเนินงาน อีกทั้งยังส่งผลให้กิจการมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนที่มีต้นทุนต่ำที่ให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทดังกล่าว ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่เน้นเรื่องการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เกิดเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันที่สูงกว่าธุรกิจปกติทั่วไป
ในปี พ.ศ. 2567 สิ่งที่ต้องติดตาม คือ จะมีกิจการใดที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังต่อเนื่อง แล้วทำให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับประโยชน์จากกิจการ และผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนด้วย
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินแนวโน้มความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของภาคธุรกิจ ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า ‘ESG in 2024 and Beyond: Who Cares Earns’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจที่ต้องการใช้ประเด็นด้าน ESG ในการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่าง ๆ ได้แนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของกิจการ เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิผล
ดาวน์โหลดหนังสือ
ESG in 2024 and Beyond: Who Cares Earns
แม้แต่ในแวดวงการตลาดที่ ESG ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร จนในปัจจุบัน ถูกตีความว่า ส่วนใหญ่เป็นการฟอกเขียว (Green Washing) เป็นผลให้หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ต้องออกนิยามศัพท์ (Terminology) และการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) ที่เกี่ยวกับเรื่อง ESG เพื่อป้องกันการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทำให้การฟอกเขียวเกิดได้ยากขึ้น
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย จากผลสำรวจสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ของบริษัทจดทะเบียน 805 แห่ง กองทุนและองค์กรอื่น ๆ อีก 99 ราย รวมทั้งสิ้น 904 ราย ในปี 2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์ พบว่า มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.46 คะแนน (จากกิจการที่สำรวจ 854 ราย ในปี 65) และ 2.2 คะแนน (จากกิจการที่สำรวจ 826 ราย ในปี 64) ตามลำดับ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจที่มีการรายงานข้อมูลอย่างโปร่งใส และสามารถเปิดเผยได้ตามมาตรฐานสากล จะได้รับการยอมรับทั้งจากหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรผู้ประเมินทั้งในระดับประเทศและในต่างประเทศ ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและเครดิตจากการดำเนินงาน อีกทั้งยังส่งผลให้กิจการมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนที่มีต้นทุนต่ำที่ให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทดังกล่าว ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่เน้นเรื่องการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เกิดเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันที่สูงกว่าธุรกิจปกติทั่วไป
ในปี พ.ศ. 2567 สิ่งที่ต้องติดตาม คือ จะมีกิจการใดที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังต่อเนื่อง แล้วทำให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับประโยชน์จากกิจการ และผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนด้วย
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินแนวโน้มความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของภาคธุรกิจ ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า ‘ESG in 2024 and Beyond: Who Cares Earns’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจที่ต้องการใช้ประเด็นด้าน ESG ในการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่าง ๆ ได้แนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของกิจการ เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิผล
ดาวน์โหลดหนังสือ
ESG in 2024 and Beyond: Who Cares Earns
No comments:
Post a Comment